Monday, November 26, 2007

ต้น"จามจุรี"



ชื่อวิทยาศาสตร์ Samanea saman (Jacg.) Merr.
ชื่อวงศ์ Leguminosae-Minosoideae
ชื่อสามัญ จามจุรี
ชื่อทางการค้า Eastindian walnut, Raintree.
ชื่อพื้นเมือง ก้ามกราม, ก้ามกุ้ง, ก้ามปู, จามจุรี, (ภาคกลาง) ฉำฉา, ลัง,สารสา, สำสา (ภาคเหนือ), ตุ๊ดตู่ (ตาก)
ไม้ยืนต้นขนาดกลาง-ใหญ่ สูง 10-20 ม. ไม้ผลัดใบ เปลือกต้นสีดำเป็นเกล็ดโตแข็งเป็นเนื้อคอร์ก นุ่ม
รูปทรง (เรือนยอด) พุ่มแผ่กว้างรูปร่ม
ใบ ประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเรียงสลับ มีใบย่อยชั้นที่หนึ่ง 2-5 คู่ เรียงตรงข้ามกัน ใบย่อย ชั้นที่สองรูปไข่ถึงรูปรีหรือคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนปลายใบบน ขอบใบเรียบหลังใบเกลี้ยง
ดอก ดอกเป็นช่อกระจุกแน่น ออกตามเต็มใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นหลอดปลายแยก 5 แฉก
สี โคนดอกสีขาวปลายสีชมพูอ่อน
กลิ่น -
ออกดอก สิงหาคม - กุมภาพันธ์
ผล เป็นฝักแบนยาวฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่สีน้ำตาล เนื้อในนิ่มสีดำรสหวาน เมล็ดสีน้ำตาลเข้ม
ผลแก่ -
จามจุรีเป็นพันธุ์ไม้ต่างถิ่นนำเข้ามาจากอเมริกาใต้เขตร้อน นำไปปลูกกระจายทั่วประเทศไทยและเกือบทั่วประเทศในเขตร้อน
การขยายพันธุ์และการผลิตกล้า เพาะเมล็ด
ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูก -
ดิน ทุกชนิด
ความชื้น ปานกลาง - มาก
แสง มาก
การปลูกดูแลบำรุงรักษา -
การคัดเลือกพื้นที่และเตรียมพื้นที่ปลูก -
วิธีการปลูกและระยะปลูกที่เหมาะสม -
โรคและแมลง -
อัตราการเจริญเติบโต รวดเร็ว

การเก็บรักษา -
การแปรรูป -
การตลาด -
การบริโภค -
การนำเข้า -
การส่งออก -
การใช้ประโยชน์ทางด้านเนื้อไม้ ใช้ในงานแกะสลัก เครื่องเรือน บุผนัง ไม้พื้น เผาถ่าน
การใช้ประโยชน์ทางด้านนิเวศน์ิ -
การใช้ประโยชน์ทางด้านภูมิสถาปัตย์ เรือนยอดของจามจุรีมีทรงพุ่มแผ่กว้างรูปริมขนาดใหญ่เหมาะที่จะปลูกให้ร่มเงารักษาความชุ่มชื้น ดอกมีสีขาวปนชมพูสวยงาม ในประเทศไทยนิยมปลูกตามที่อยู่อาศัยริมทาง สวนสาธารณะมานานแล้ว
การใช้ประโยชน์ทางด้านโภชนาการ -
การใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร
- เปลือกต้น ป่นให้ละเอียด ใช้เป็นยาสมานรักษาแผล
- เปลือกต้นและเมล็ด ใช้รักษาอาการท้องบิด ท้องเสีย
- ใบ รสเมทเย็น สรรพคุณเย็น ด้านพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน
- เมล็ด รสฝาดเมา แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน เรื้อน แก้เยื่อตาอักเสบ
วิธีใช้เป็นยาสมานรักษาแผล ให้นำเปลือกที่แห้งแล้ว มาบดหรือป่นให้ละเอียดจนเป็นผง จากนั้นนำมาโรยบริเวณที่เป็นแผล ใช้ทาเรื่อย ๆ จนกว่าแผลจะหาย
ข้อควรระวัง เมื่อรับประทานเมล็ด หรือน้ำยางเข้าไป จะทำให้เยื่อบุผนังกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ มีอาการอาเจียนและถ่ายอย่างรุนแรง
ประโยชน์อื่น ๆ - ฝักแก่สามารถนำมาใช้เป็นอาหารให้แก่วัว หรือควายได้
- ใบที่ร่วงหลนตามพื้นนำมาทำปุ๋ยหมักได้เป็นอย่างดีเพราะมีธาตุในโตรเจนสูง